ประภาศรี สุฉันทบุตร
ประภาศรี สุฉันทบุตร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ประภาศรี วิริยพันธ์ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | นายแพทย์หาญ สุฉันทบุตร (รับพระราชทานเครื่องราชตริตาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2526) |
ประภาศรี สุฉันทบุตร[1] เป็นนักธุรกิจ (เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494) เป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางตอนใต้ของประเทศไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 [ลิงก์เสีย][2]
ประวัติ
[แก้]ประภาศรี สุฉันทบุตร ชื่อ-สกุลเดิม ประภาศรี วิริยพันธ์ ทำอาชีพ นักธุรกิจ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางตอนใต้ของประเทศไทย
ประภาศรี ได้สมรส กับ นายแพทย์หาญ สุฉันทบุตร มีอาชีพเป็น ศัลยแพทย์ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 4 คน คือ
- นายแพทย์ต้นกล้า สุฉันทบุตร อาชีพ ศัลยแพทย์ สมรสกับ นางณัทภัทร ศรีอนันตทรัพย์ มีธิดาด้วยกัน 2 คน
- นายแพทย์ฉายตะวัน สุฉันทบุตร อาชีพ แพทย์ประจำโรงพยาบาลนายแพทย์หาญ สมรสกับ นางโชติกา โกไศยกานนท์ มีธิดาด้วยกัน 1 คน
- แพทย์หญิงกลางดาว สุฉันทบุตร จบการศึกษา แพทยศาสตร์บัณฑิต(เกียรตินิยม) แพทย์สาขาต่อต้านความชรา American Board of Anti-aging สมรสกับ นายแพทย์สุภเชษฐ์ ชีรณวนิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมกระดูก อนุสาขา เปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพก รับราชการแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธาน มีบุตรชาย 1 คน ธิดา 1 คน
- นายก้องไกล สุฉันทบุตร (โสด) จบการศึกษา มัธยมปลาย จากโรงเรียน SAINT JOHN COLLEGE, HAMILTON, NEWZEALAND ระดับปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ(Merit:ดี) จาก University of Leeds ,United Kingdom ระดับปริญญาโท สาขา Marketing Communication(Merit:ดี) จาก Westminster University, London.United Kingdom
การศึกษา
[แก้]- ม.ศ.3 โรงเรียนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
- ม.ศ.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท กทม.
- ปริญญาตรีครุศาสตร์ บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2516)
- ปริญญาโทการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (2522) วิชาเอกการจัดการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา(Higher Education)
- วุฒิบัตรโครงการพัฒนา นักธุรกิจชั้นนำส่วน ภูมิภาค สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์และมูลนิธิเพื่อการจัดการแห่งประเทศไทย ปี 2537 (NIDA – Imet)
- วุฒิบัตรการบริหารงานสาธารณสุขและโรงพยาบาล จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐและเอกชน ว.ปรอ.4515
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน(วตท.) รุ่นที่ 13
ประสบการณ์การทำงาน
[แก้]- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดยโสธร ปี 2557[3]
- ประธานหอการค้าจังหวัดยโสธร[4]
- ประธานกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนจังหวัด ยโสธร [5]
- สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 1[6]
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยนครพนม
- กรรมการหอการค้าไทย
- ประธานกรรมการหอการค้าเขต 14 ภาคะวันออกเฉียงเหนือ (ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร) ปี 2542
- รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร (ปี 2551-2554)
- กรรมการสมาคมโรงพยาบาลเอกชนแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย สาขายโสธร (ปี 2545 – 2551)
- นายกสมาคมสตรี จ.ยโสธร[7]
- กรรมการสมาคมสตรี อุดมศึกษาแห่งประเทศไทย
- ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจากสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสหพันธ์สตรีอุดมศึกษานานาชาติ The International Federation of University Woman (IFUW) ปี2550 ที่ Manchester UK.[8]
- ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรี จ.ยโสธร ( 2530-2555)
- ผู้พิพากษาสมทบแห่งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว (2536-2542)
- กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยขอนแก่น (2539-2542)
- กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2533-2542)
- สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 (2562-2567)
ธุรกิจส่วนตัว
[แก้]ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ประธานกรรมการบริหาร และเจ้าของโรงพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลนายแพทย์หาญ ซึ่งเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่มีสถานะมั่นคงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีส่วนแบ่งการตลาดในจังหวัดภาคอิสานตอนใต้ คือ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม รวมทั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สะหวันนะเขต) และราชอาณาจักรกัมพูชา
1. จังหวัดยโสธร สาขา 1 โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ ยโสธร[9]
2. จังหวัดยโสธร สาขา 2 โรงพยาบาลรวมแพทย์ยโสธร[9] เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อ ในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย สามารถรักษาได้ในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3. จังหวัดมุกดาหาร โรงพยาบาลมุกดาหารอินเตอร์เนชั่นแนล[10] เพื่อมหาชนลุ่มแม่น้ำโขง เป็นโรงพยาบาลเอกชน แห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดมุกดาหาร เป็นโรงพยาบาลเอกชนระดับอินเตอร์เนชั่นแนลที่ให้บริการประชาชนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และจังหวัดแถบลุ่มน้ำโขงของประเทศไทย คือ มุกดาหาร นครพนม สกลนครและอำนาจเจริญ รวมทั้งรองรับการดูแลให้กับประชาชนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
4. Yasothon Ruampat International Clinic จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นคลินิกของคนไทยที่ดำเนินการในต่างประเทศ กำลังขออนุญาตเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ Siem Reap, Cambodia.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[13]
รางวัล
[แก้]ปีได้รับรางวัล | รางวัล |
---|---|
พ.ศ. 2550 | รางวัล ครุศาสตร์เกียรติยศจากคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พ.ศ. 2551 | รางวัล สตรีนักบริหารภาคเอกชนดีเด่น จากกระทรวงแรงงาน เนื่องในวันสตรีสากล |
พ.ศ. 2537 | รางวัล สตรีที่มีผลงานเด่นจากสภาสตรีแห่งชาติ |
พ.ศ. 2545 | รางวัล ร้อยคนดี เกาะสมุย |
พ.ศ. 2552 | รางวัล สตรีที่มีผลงานดีเด่นของสภาสตรีแห่งชาติ ปี 2552 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.facebook.com/SenatorPrapasriSuchantabutr/
- ↑ https://hris.parliament.go.th/ss_detail.php?ssp_id=7864&lang=th
- ↑ https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrcinf/nrc2557-profile.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.insightpunam.com/747[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.yasothonpoc.com/page.php?cat=9&newsID=43952
- ↑ https://www.ryt9.com/s/nesd/243278
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-06.
- ↑ http://oknation.nationtv.tv/blog/drhann/2008/02/17/entry-1/comment
- ↑ 9.0 9.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-06.
- ↑ https://www.mukinter.com/th/
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเกาะสมุย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคพลังธรรม
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.